
Background truck on a road Help and Advice
ประเภทของรถบรรทุกทั้ง 9 ประเภทที่แบ่งตามกฎหมายมีอะไรบ้าง
เมื่อพูดถึง "รถบรรทุก" หลายคนอาจนึกถึงแค่รถบรรทุกขนาดใหญ่ที่ใช้ขนส่งสินค้าเท่านั้น แต่รู้หรือไม่ว่า จริงๆ แล้วรถบรรทุกมีอยู่หลายประเภท เพราะตามกฎหมายไทยได้แบ่งประเภทของรถบรรทุกออกเป็น 9 ประเภทด้วยกัน โดยพิจารณาจากลักษณะการใช้งาน รูปแบบ และวัตถุประสงค์ในการบรรทุก ที่สำคัญคือในปี 2024 ประเทศไทยมีจำนวนรถบรรทุกสะสมสูงสุดถึง 1,247,128 คัน
ว่าแต่รถบรรทุกทั้ง 9 ประเภท มีอะไรบ้าง? แต่ละประเภทมีลักษณะแตกต่างกันอย่างไร? บทความนี้จะพาคุณไปเจาะลึกข้อมูลของรถบรรทุกแต่ละประเภท เพื่อให้คุณได้เข้าใจถึงความหลากหลายและความสำคัญของรถบรรทุกแต่ละประเภทในระบบขนส่งของประเทศไทย
เหตุใดรถบรรทุกในประเทศไทยถึงถูกแบ่งออกเป็นหลายประเภท
สาเหตุที่กรมการขนส่งทางบกแบ่งประเภทรถบรรทุกออกเป็น 9 ประเภทนั้น ไม่ได้ทำเพื่อให้ผู้ประกอบการสับสนหรือเพิ่มต้นทุนในการทำธุรกิจแต่อย่างใด แต่มาจากเหตุผลสำคัญต่างๆ ดังนี้
1. ความปลอดภัยบนท้องถนน: รถบรรทุกแต่ละประเภทมีขนาด น้ำหนัก และลักษณะการใช้งานที่แตกต่างกัน ไป ซึ่งการแบ่งประเภทรถบรรทุกออกเป็น 9 ประเภท จะช่วยให้สามารถกำหนดกฎระเบียบเฉพาะ เช่น ข้อจำกัดความเร็ว, เส้นทางการเดินรถ, น้ำหนักบรรทุกสูงสุด, และอุปกรณ์ความปลอดภัยที่จำเป็น เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุและความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นตามมา
2. จัดการจราจรได้ดีขึ้น: การแบ่งประเภทรถบรรทุกออกเป็น 9 ประเภท ช่วยให้เจ้าหน้าที่สามารถบริหารจัดการการจราจรได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การกำหนดช่องทางเดินรถ, เวลาในการเดินรถ, หรือการควบคุมปริมาณรถบรรทุกในเขตเมือง เพื่อลดปัญหาการจราจรติดขัดในช่วงเวลาต่างๆ ให้ภาพรวมมีความคล่องตัวมากขึ้น
3. ควบคุมมลพิษอย่างมีประสิทธิภาพ: รถบรรทุกแต่ละประเภทล้วนมีมาตรฐานการปล่อยมลพิษที่แตกต่างกัน โดยส่วนใหญ่ที่วิ่งอยู่บนท้องถนนของไทยจะมีมาตรฐานไอเสียอยู่ระหว่าง ยูโร 2-3 ซึ่งปล่อยมลพิษและ PM 2.5 สูงมาก ทางภาครัฐจึงได้ออกกฎมาบังคับให้ผู้ผลิตรถบรรทุกเครื่องยนต์ดีเซลต้องปรับไปใช้เครื่องมาตรฐานยูโร 5 ซึ่งการแบ่งประเภทรถบรรทุกช่วยให้สามารถควบคุมและตรวจสอบการปล่อยมลพิษจากรถบรรทุกได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนได้ในระยะยาว
4. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน: การแบ่งประเภทรถบรรทุกออกเป็น 9 ประเภท ช่วยให้ภาครัฐสามารถวางแผนและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งให้เหมาะสมกับประเภทของรถบรรทุก เช่น การออกแบบถนน, สะพาน, และจุดพักรถ เพื่อรองรับน้ำหนักและขนาดของรถบรรทุกแต่ละประเภท โดยเฉพาะเส้นทางหลักทางหลักที่บรรดารถบรรทุกใช้วิ่งสัญจร เช่น บริเวณแถบภาคกลางและภาคตะวันออกของไทย
5. การส่งเสริมเศรษฐกิจ: การแบ่งประเภทรถบรรทุกช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถเลือกรถบรรทุกที่เหมาะสมกับประเภทของสินค้าและลักษณะการใช้งาน ซึ่งส่งผลต่อประสิทธิภาพในการขนส่ง, ช่วยลดต้นทุนที่ไม่จำเป็น, และส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ
ประเภทของรถบรรทุกทั้ง 9 ประเภท ตามที่กรมการขนส่งทางบกระบุไว้
กรมการขนส่งทางบกของไทยได้แบ่งประเภทของรถบรรทุกออกเป็น 9 ประเภท ตามลักษณะการใช้งาน รูปแบบ และวัตถุประสงค์ในการบรรทุก และเพื่อไม่เป็นการเสียเวลาเราจะพาคุณไปรู้จักกับประเภทของรถบรรทุกทั้ง 9 ประเภทดังนี้

01 รถกระบะบรรทุก
1. รถกระบะบรรทุก
เริ่มต้นด้วยรถกระบะบรรทุกที่มีลักษณะของส่วนบรรทุกเป็นกระบะ ซึ่งอาจมีหรือไม่มีหลังคาเพื่อปกคลุมพื้นที่บรรทุกสิ่งของก็ได้ รวมถึงจะติดตั้งเครื่องทุ่นแรงสำหรับยกสิ่งของภายในกระบะก็ได้เช่นกัน โดยรถบรรทุกประเภทนี้นิยมใช้บรรทุกสินค้าทั่วไป ทั้งมีขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่แต่ไม่เกินไปกว่าขนาดของกระบะบรรทุก

02 รถตู บรรทุก
Delivery truck at warehouse for advertising.
2. รถตู้บรรทุก
รถบรรทุกประเภทนี้มีลักษณะเป็นตู้ทึบปิดโดยรอบ เหมาะสำหรับการใช้ขนส่งสินค้าที่ต้องการการปกป้องจากสภาพอากาศ เช่น สินค้าอุปโภคบริโภค เครื่องใช้ไฟฟ้า และสินค้าที่ต้องเก็บในสภาพที่สมบูรณ์ที่สุด

03 tanker truck xmulti hd d
A truck with an orange tank goes on a knurled unpaved road, delivering oil products to remote areas
3. รถบรรทุกของเหลว
เป็นรถบรรทุกประเภทนี้ออกแบบมาสำหรับการขนส่งของเหลวโดยเฉพาะ ซึ่งจะมีถังบรรจุของเหลวที่ดูแข็งแรงและปลอดภัยได้มาตรฐาน เหมาะสำหรับขนส่งน้ำมัน น้ำ และสารเคมีที่อยู่ในรูปแบบของเหลว

04 hazmat truck
4. รถบรรทุกวัสดุอันตราย
รถบรรทุกประเภทนี้ถูกออกแบบมาเพื่อขนส่งวัสดุอันตราย เช่น วัตถุไวไฟ สารเคมี มีสารที่ต้องการระบบความปลอดภัยที่เข้มงวดเพื่อป้องกันการรั่วไหลสู่สิ่งแวดล้อมภายนอก

05 รถบรรทุกเฉพาะกิจ
5. รถบรรทุกเฉพาะกิจ
นี่คือรถบรรทุกที่ออกแบบมาเพื่อใช้ในงานเฉพาะทาง เช่น รถบรรทุกขยะ รถผสมคอนกรีต รถเครน โดยจะมีลักษณะและอุปกรณ์พิเศษแตกต่างกันไปตามแต่ละประเภทงาน

06 รถพ วง
6. รถพ่วง
เป็นหนึ่งประเภทของรถบรรทุกที่ไม่มีเครื่องยนต์ในตัว จึงจำเป็นต้องใช้รถอื่นมาใช้ในการลากจูง ซึ่งเหมาะอย่างมากสำหรับขนส่งสินค้าปริมาณมากในระยะทางไกล

07 semi truck white
MICHELIN SOLUTIONS POUR Lb OFFRE EFFITRAILER 2015
7. รถกึ่งพ่วง
เป็นรถบรรทุกที่ส่วนหน้าไม่มีล้อ ต้องใช้รถหัวลากจูง เหมาะสำหรับขนส่งสินค้าขนาดใหญ่หรือยาวกว่า

Edito trailer low remorque basse Tyre
8. รถกึ่งพ่วงบรรทุกวัสดุยาว
เป็นรถกึ่งพ่วงที่ออกแบบมาเพื่อบรรทุกของที่มีขนาดยาวเป็นพิเศษ เช่น อุปกรณ์ก่อสร้างขนาดใหญ่ หรือชิ้นส่วนของอาคารและโครงสร้างต่างๆ

ประเภท 9
9. รถลากจูง
รถลากจูงหรือที่หลายคนเรียกว่ารถหัวลาก เป็นรถที่ใช้สำหรับลากจูงรถคันอื่น รถพ่วง หรือวัตถุอื่นๆ ในงานอุตสาหกรรม หรือแม้แต่ใช้สำหรับการช่วยเหลือรถที่เสีย และประสบเหตุต่างๆ ที่ทำให้รถวิ่งไปต่อไม่ได้
มิชลินมียางที่ออกแบบมาสำหรับรถบรรทุกทั้ง 9 ประเภทในประเทศไทย
สำหรับธุรกิจที่กำลังมองหายางรถบรรทุก ยางสำหรับรถพ่วง ยางรถกระบะตู้ทึบ หรือยางสำหรับรถบรรทุกที่ใช้ในไซต์งาน ตลอดจนยางรถบรรทุกประเภทอื่นๆ มิชลินเรามีผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ครบทุกความต้องการของคุณ โดยเราจะพาไปดูว่าผลิตภัณฑ์ยางรถบรรทุกของมิชลินที่รุ่นไหนและมาพร้อมจุดเด่นอะไรบ้าง
ยางรถบรรทุกประหยัดน้ำมัน MICHELIN X® MULTI™ ENERGY™ Z
ยางรุ่นนี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อลดความต้านทานการหมุน ทำให้ช่วยประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับธุรกิจขนส่งที่ต้องการลดต้นทุน ทั้งยังขึ้นชื่อเรื่องความทนทาน เพราะได้รับการออกแบบมาให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ช่วยลดความถี่ในการเปลี่ยนยาง และประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาว ยิ่งไปกว่านั้น ยางรถบรรทุกที่เน้นความประหยัดน้ำมันอย่าง MICHELIN X® MULTI™ ENERGY™ Z มีประสิทธิภาพในการยึดเกาะถนนที่ดีเยี่ยม ทั้งในสภาพถนนแห้งและเปียก ช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการขับขี่ และปิดท้ายด้วยความสามารถในการนำกลับมาใช้ใหม่ได้ด้วยการเซาะร่อง และการแกะดอกยาง ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการยางให้คุ้มค่าในระยะยาว
ยางรถพ่วง MICHELIN X® MULTI™ Z2
ยางรุ่นนี้ออกแบบมาให้ใช้งานได้หลากหลาย เหมาะสำหรับรถพ่วงที่วิ่งใช้งานบนถนนหลากหลายประเภท ทั้งทางหลวงและถนนทั่วไป ยางรถพ่วงอย่าง MICHELIN X® MULTI™ Z2 ยังได้รับการออกแบบมาให้มีอายุการใช้งานยาวนาน ช่วยลดต้นทุนในการเปลี่ยนยางในระยะยาว นอกจากนี้ เนื้อยางและดอกยางก็มีการออกแบบให้สามารถยึดเกาะถนนได้ดี ทั้งในสภาพถนนแห้งและเปียก เพื่อความปลอดภัยในการขับขี่ รวมถึงมาพร้อมเทคโนโลยีร่องดอกยางที่เกิดขึ้นใหม่ (REGENION) ที่จะเพิ่มร่องดอกยางใหม่เมื่อยางเกิดการสึกหรอขึ้นมาแทนที่
ยางรถบรรทุก 6 ล้อ MICHELIN X MULTI Z+ (17.5)
ยางรุ่นนี้ถูกพัฒนามาสำหรับการใช้งานในรถบรรทุก 6 ล้อ โดยเฉพาะ เริ่มจากโครงสร้างยางที่ช่วยลดโอกาสการเกิดอุบัติเหตุยางแตกเสียหาย ทำให้ผู้ควบคุมรถขับขี่ได้ด้วยความสบายใจ ด้วยเทคโนโลยีอินฟินิตคอยล์ ที่เสริมให้หน้ายางลดการขยับตัวและสึกได้เรียบดียิ่งขึ้น และเทคโนโลยีดูราคอยล์ ที่เข้ามาเสริมความแข็งแรงบริเวณขอบยางให้แกร่งไปอีกขั้น ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงที่ยางจะเสียหายจากการใช้งานหนักได้เป็นอย่างดี ยิ่งไปกว่านั้น ยางรถบรรทุก 6 ล้อ อย่าง MICHELIN X MULTI Z+ (17.5) ให้ความมั่นใจแก่ผู้ขับขี่ไปอีกขั้น ด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงที่ช่วยให้ทุกการเบรกทำได้มีประสิทธิภาพดีใกล้เคียงกันทุกระยะการใช้งาน ตั้งแต่ตอนเปลี่ยนยางใหม่หรือในวันที่ยางใกล้หมดดอก
ยางรถบรรทุกมิชลินที่เหมาะสำหรับทุกความต้องการของธุรกิจคุณ
คุณต้องการความช่วยเหลือและคำแนะนำเพิ่มเติมหรือไม่?
• ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับยางรถบรรทุกและรถบัส
• แรงดันลมยางที่เหมาะสม
• คำแนะนำการใช้งาน
• ข้อบังคับในสหราชอาณาจักร
• กฎหมายในยุโรป