
Background inspection of truck tyres Help and Advice
Inspection des pneus sur un camion
แรงดันลมยางที่เหมาะกับรถบรรทุก รถกระบะ และรถตู้ขนส่งสินค้า รวมถึงรถบัสควรเติมที่เท่าไร
การบรรทุกสินค้าหรือผู้โดยสารไปส่งยังจุดหมายปลายทางได้อย่างปลอดภัยนั้น ส่วนหนึ่งก็มาจากการเติมลมยางในระดับแรงดันที่ถูกต้องและเหมาะสมกับสภาพการใช้งาน วันนี้เราจะพาคุณไปทำความเข้าใจถึงวิธีการเติมแรงดันลมยางให้เหมาะสมกับรถบรรทุก รถตู้ขนส่งสินค้า รวมถึงรถบัสที่พาผู้โดยสารไปยังจุดหมายปลายทางต่างๆ ว่าที่แต่จริงแล้วคุณควรเติมลมยางที่เท่าไรจึงจะเหมาะสม
ทำความเข้าใจเกี่ยวกับแรงดันลมยางว่าสำคัญอย่างไรกับรถบรรทุกและรถประเภทต่างๆ
PSI (Pounds per Square Inch) คือหน่วยวัดแรงดันลมยางที่ใช้งานกันอย่างแพร่หลายทั่วโลกรวมถึงในไทย การเติมลมยางให้เหมาะสมกับการใช้งานนั้นส่งผลโดยตรงต่อความปลอดภัยและประสิทธิภาพของรถบรรทุกทุกประเภท
ในขณะเดียวกัน Bar ก็คือหน่วยวัดแรงดันลม เช่นเดียวกับ PSI (ปอนด์ต่อตารางนิ้ว) และ kPa (กิโลปาสคาล) โดยที่ 1 Bar มีค่าเท่ากับ 14.5038 PSI หรือ 100 kPa
เพื่อไม่ให้เสียเวลา เราจะพาคุณไปทำความเข้าใจถึงประโยชน์ที่ได้รับจากการเติมลมยางรถบรรทุก ที่ต่อจากนี้หมายรวมถึง รถพ่วง รถบรรทุก 6 ล้อ รถบัสโดยสาร รถตู้ และรถกระบะที่ใช้สำหรับการขนส่งสินค้ารวมถึงผู้โดยสาร ว่ามีเรื่องใดบ้าง รวมถึงควรเติมลมยางรถที่เท่าไรกันแน่
ขับขี่ได้เต็มประสิทธิภาพ
-
แรงดันลมยางที่เหมาะสมช่วยให้รถบรรทุก รถบัส หรือรถตู้ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงได้มากขึ้น
-
การสึกหรอของยางจะลดลง และทำให้ยางมีอายุการใช้งานยาวนานขึ้น
-
ช่วยให้การขับขี่มีความนุ่มนวลและสะดวกสบายมากขึ้นตามความสามารถของยาง
ขับขี่ได้อย่างปลอดภัย
- การเติมแรงดันลมยางรถบรรทุก รถบัส รถกระบะ หรือรถตู้ให้เหมาะสมกับน้ำหนักบรรทุกหรือความเร็วที่ใช้ ช่วยลดความเสี่ยงที่ยางจะร้อนจัดและเกิดระเบิดจากลมยางที่ต่ำเกิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อบรรทุกน้ำหนักมากหรือขับขี่ด้วยความเร็วสูง
แรงดันลมยางรถบรรทุก รถบัส รถตู้ หรือรถกระบะที่แนะนำและแรงดันลมยางสูงสุดแตกต่างกันอย่างไร
ด้วยความที่ยางรถบรรทุกมีหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นยางรถบรรทุก 6 ล้อ ยางรถบัสโดยสาร หรือแม้แต่ยางรถตู้บรรทุกสินค้า ซึ่งมีให้เลือกตามประเภทของรถรวมถึงวัตถุประสงค์ในการใช้งาน การเติมแรงดันลมยางจึงมีความละเอียดแปรผันตามน้ำหนักบรรทุกและความเร็วที่ใช้งาน ต่อจากนี้เราจะอธิบายว่าแรงดันลมยางที่แนะนำและแรงดันลมยางสูงสุดที่ใช้ได้นั้นต่างกันอย่างไร
แรงดันลมยางที่แนะนำคืออะไร
นิยามของแรงดันลมยางที่แนะนำนั้นตรงไปตรงมา เพราะเป็นค่าแรงดันลมยางที่ผู้ผลิตรถบรรทุกหรือผู้ผลิตยางแนะนำให้ผู้ใช้งานเช็กและเติมลมเป็นประจำ เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูงสุดในการใช้งานทั่วไป โดยค่านี้มักจะระบุไว้ในคู่มือประจำรถหรือบนสติกเกอร์ที่ติดอยู่บริเวณขอบประตูคนขับที่สังเกตเห็นได้ง่าย เช่น ระบุอยู่ในคู่มือรถบรรทุก, แผ่นป้ายบริเวณประตูฝั่งคนขับ, หรือบริเวณเสาหลังคาคู่หน้า เป็นต้น
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับแรงดันลมยางที่แนะนำ
-
เป็นค่าแรงดันลมยางที่ถูกกำหนดโดยผู้ผลิตรถบรรทุก
-
เมื่อเติมลมยางในระดับที่แนะนำจะช่วยให้ประสิทธิภาพการทำงานของรถและยางออกมาที่ดีที่สุด
-
ผู้ขับขี่จะสัมผัสได้ถึงการยึดเกาะถนน, การควบคุม, อายุยาง, และความนุ่มนวลได้อย่างครบถ้วน
-
ค่าแรงดันลมยางสูงสุดจะมีระบุไว้ในคู่มือรถ, แผ่นป้ายข้างประตู, หรือบริเวณเสา B-pillar คู่หน้า
แรงดันลมยางสูงสุดคืออะไร
ในขณะที่ แรงดันลมยางสูงสุด คือค่าแรงดันลมสูงสุดที่ยางรถบรรทุกเส้นนั้นสามารถรับได้โดยไม่เกิดอันตราย เพราะธรรมชาติของรถบรรทุกจะต้องแบกรับน้ำหนักบรรทุกที่มหาศาลในทุกการเดินทางอยู่แล้ว ดังนั้นค่านี้จึงมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าค่าแรงดันลมยางที่แนะนำ ซึ่งค่านี้จะถูกระบุไว้บนแก้มยาง (sidewall) ของยางเส้นนั้นๆ ซึ่งหากผู้ขับขี่รถบรรทุกทำการเติมลมยางเกินกว่าแรงดันลมยางสูงสุดก็อาจทำให้ยางเกิดการระเบิดขึ้นมาได้
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับแรงดันลมยางสูงสุด
-
ค่าแรงดันลมสูงสุดที่ยางรับได้โดยไม่เป็นอันตราย ดังนั้นหลีกเลี่ยงการเติมลมยางเกินกว่าค่านี้
-
ระบุอยู่บนแก้มยาง ควรตรวจสอบและจดจำไว้ทุกครั้งเมื่อทำการเปลี่ยนยางเส้นใหม่
-
การเติมลมเกินค่านี้อาจทำให้ยางระเบิดได้ในระหว่างการขับขี่รถบรรทุกได้
แรงดันลมยางรถบรรทุก รถบัส รถตู้ และรถกระบะลดลงได้จากสาเหตุใดบ้าง
มีหลายคนที่ยังสงสัยว่าทำไมลมยางที่เติมเข้าไปถึงลดระดับเมื่อเวลาผ่านไปสักระยะ หรือไม่ก็ลดลงรวดเร็วในระดับที่ผิดปกติ ด้วยเหตุนี้เราจึงจะมาอธิบายว่ามีสาเหตุใดบ้างที่ทำให้แรงดันลมยางรถบรรทุกประเภทต่างๆ ลดลงดังนี้
การรั่วซึม
-
รอยตำหรือบาด: สิ่งของมีคมบนท้องถนน เช่น ตะปู, สกรู, เศษแก้ว สามารถทิ่มแทงและทำให้ลมยางรั่วซึมออกได้
-
ความเสียหายที่แก้มยาง: การกระแทกกับขอบถนนหรือวัตถุอื่นๆ อาจทำให้แก้มยางฉีกขาดและลมรั่ว เร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับแผลที่เกิดขึ้นบนยาง
-
ความเสียหายที่ขอบยาง (Bead Leak): หากขอบยางรถบรรทุกติดตั้งไม่แนบสนิทกับขอบล้อ ก็อาจเกิดการรั่วซึมของแรงดันลมยางได้
-
ความเสียหายที่วาล์วลม: วาล์วลมอาจเสื่อมสภาพ, แตกหัก, หรือมีสิ่งสกปรกอุดตัน ทำให้ลมรั่วซึมในที่สุด
-
การรั่วซึมอย่างช้าๆ (Permeation): แรงดันลมยางสามารถซึมผ่านเนื้อยางออกมาได้ทีละน้อยตามธรรมชาติ
การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ
-
อุณหภูมิที่ลดลง: เมื่ออุณหภูมิภายนอกลดลง ความดันลมในยางจะลดลงตามไปด้วย เนื่องจากอากาศจะหดตัว
-
อุณหภูมิที่สูงขึ้น: แม้ว่าอุณหภูมิที่สูงขึ้นจะทำให้ความดันลมยางเพิ่มขึ้น แต่หากสูงเกินไปก็อาจเป็นอันตรายได้ และเมื่ออุณหภูมิลดลงในภายหลัง ความดันลมก็จะลดลงกลับมาปกติ
ความเสียหายของล้อ
-
ล้อคดงอหรือแตก: การกระแทกอย่างรุนแรงอาจทำให้ล้อเสียรูปและส่งผลต่อการซีลลมของยาง
-
สนิมหรือการกัดกร่อนของขอบล้อ: อาจทำให้เกิดช่องว่างระหว่างยางกับล้อและทำให้ลมรั่วซึมได้เช่นกัน
การติดตั้งยางที่ไม่ถูกต้อง
- หากติดตั้งยางไม่สนิทหรือไม่ถูกต้อง อาจทำให้เกิดการรั่วซึมบริเวณขอบยางได้
การบรรทุกน้ำหนักเกิน
- การบรรทุกน้ำหนักเกินกว่าที่ยางกำหนดอาจทำให้เกิดภาระในเรื่องน้ำหนักบรรทุกที่กดลงบนตัวยางมากขึ้น และอาจส่งผลให้ลมยางลดลงได้
ระยะเวลาการใช้งาน
- ยางรถบรรทุกเก่าหรือยางที่ผ่านการใช้งานมานานอาจมีการเสื่อมสภาพ ทำให้กักเก็บลมได้ไม่ดีเท่าที่ควร ดังนั้นต้องตรวจสอบให้ดีก่อนที่จะตัดสินใจใช้ยางเส้นดังกล่าว

the right pressure
16 เคล็ดลับเกี่ยวกับการเติมลมยางรถบรรทุกสินค้าและรถโดยสารประเภทต่างๆ
เพื่อช่วยให้คุณสามารถขับขี่รถบรรทุกได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูงสุดในทุกการเดินทาง มิชลินจะแนะนำเคล็ดลับที่น่าสนใจในการเติมแรงดันลมยางรถบรรทุกให้เหมาะสม
1. ต้องตรวจสอบแรงดันลมยางในขณะที่ยางยังเย็นอยู่หรือมีการจอดทิ้งไว้ข้ามคืน แรงดันลมยางจะเพิ่มขึ้นเมื่อใช้งาน: ห้ามลดแรงดันลมยางในขณะที่ยางยังร้อนอยู่
2. ห้ามเติมลมใหม่เข้าไปในยางที่ใช้งานในขณะที่มีลมยางต่ำเกินไป หากยังไม่ได้ทำการตรวจสอบอย่างละเอียดทั้งภายในและภายนอก
3. การเติมลมยางต่ำเกินไปอาจส่งผลให้ยางทำงานที่อุณหภูมิสูงผิดปกติ ส่งผลให้ส่วนประกอบของยางเสื่อมสภาพเนื่องจากความร้อน ซึ่งยางที่เสื่อมสภาพแล้วไม่สามารถทำให้กลับมามีสภาพที่สมบูรณ์ดังเดิมได้ และยังส่งผลให้ยางแบนอย่างรวดเร็วอีกด้
4. การเติมลมยางต่ำเกินไปจะส่งผลดังนี้
4.1 แรงต้านการหมุนที่เพิ่มขึ้นทำให้รถบรรทุกกินน้ำมันมากกว่าเดิม
4.2 อายุการใช้งานของยางรถบรรทุกลดลง
4.3 ส่งผลต่อการบังคับควบคุมรถบรรทุกและความปลอดภัย
5. การเติมลมยางมากเกินไปจะส่งผลดังนี้
5.1 ความปลอดภัยและความสบายในการขับขี่ที่รู้สึกเด้งและสะเทือนมากขึ้น
5.2 การยึดเกาะที่ลดลงจากพื้นที่หน้ายางสัมผัสกับถนนน้อยลง
5.3 อายุการใช้งานของยางลดลง โดยเฉพาะยางในตำแหน่งเพลาขับ
6. ไม่แนะนำให้ใช้แรงดันลมยางที่มากกว่า 10 Bar (145 PSI) สำหรับการใช้งานบนทางหลวงปกติ
7. แรงดันลมยางบนยางที่เย็นซึ่งต่ำกว่าค่าที่แนะนำมากกว่า 0.6 Bar (8 PSI) จะต้องทำการปรับแรงดันให้เหมาะสมทันที
8. ตรวจสอบแรงดันลมยางรถบรรทุกอย่างสม่ำเสมอ และทำการเติมลมยางด้วยความระมัดระวังทุกครั้ง
9. หากแรงดันลมยางในขณะที่ยางร้อนอยู่ต่ำกว่าค่าแรงดันลมยางที่แนะนำ แนะนำให้คุณถอดยางเส้นนั้นออกมาพร้อมกับทำการตรวจสอบและปฏิบัติตามคำแนะนำด้านความปลอดภัย
10. หากมียางเส้นหนึ่งร้อนกว่ายางเส้นอื่นๆ มาก จะต้องถอดยางเส้นนั้นออกและตรวจสอบโดยปฏิบัติตามคำแนะนำด้านความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด
11. โดยปกติแล้ว แรงดันลมยางบนเพลาเดียวกันควรจะเท่ากัน
12. ควรตรวจสอบแรงดันลมยางหลังจากติดตั้งยางเส้นใหม่แล้วภายใน 24 ชั่วโมง
13. ยางสำหรับรถบรรทุกที่ใช้งานเชิงพาณิชย์ควรเติมลมให้มีแรงดันลมสัมพันธ์กับน้ำหนักบรรทุก ความเร็ว และสภาพการใช้งาน
14. ข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับแรงดันลมยางแสดงอยู่ในตารางการรับน้ำหนัก/แรงดันลมยาง
15. การใช้แรงดันลมยางที่ถูกต้องเป็นสิ่งสำคัญต่อการใช้งานรถบรรทุกและความปลอดภัย
16. ฝาจุ๊บยางคือซีลปิดผนึกอากาศหลักและต้องติดตั้งเสมอ

image 2020 07 08 15 16 01 011
แรงดันลมยางมีผลอย่างไรต่อระยะทางที่รถวิ่งได้
การเติมแรงดันลมยางต่ำกว่า 1.5 Bar (21.7 PSI) จะทำให้สูญเสียระยะทางจากที่ควรจะวิ่งปกติถึง 10% เมื่อเทียบกับการเติมแรงดันลมยางรถบรรทุกตามค่าที่แนะนำไว้

influence
แรงดันลมยางมีผลอย่างไรต่ออัตราสิ้นเปลืองน้ำมัน
มีการพิสูจน์โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้วว่าแรงดันลมยางรถบรรทุกมีผลต่ออัตราสิ้นเปลืองน้ำมัน การเติมแรงดันลมยางที่ไม่เหมาะสมจะเพิ่มแรงต้านทานการหมุนของยาง และทำให้รถบรรทุกต้องแบกรับภาระในการขับเคลื่อนมากขึ้น ส่งผลให้รถกินน้ำมันมากขึ้นในท้ายที่สุด
การเติมแรงดันลมยางต่ำกว่า 1.5 Bar (21.7 PSI) จะทำให้อัตราสิ้นเปลืองน้ำมันเพิ่มขึ้น 1%
ยกตัวอย่างเช่น หากคุณเติมแรงดันลมยางรถบรรทุกที่ 7.5 Bar (109 PSI) ซึ่งไม่ตรงกับค่าแรงดันลมยางที่แนะนำไว้ที่ 9 Bar (130.5 PSI) จะคำนวณออกมาได้ว่ารถมีการเติมลมยางมากเกินไปถึง 17%

fuel consumption

Picto the right pressure page 75 Help and Advice
Tips box about tyre pressure check
นอกจากนี้ คุณยังอาจสนใจหน้าความช่วยเหลือและคำแนะนำเหล่านี้:
• ข้อมูลพื้นฐานและเครื่องหมายเกี่ยวกับยาง
• โครงสร้างและคุณสมบัติการทำงานของยาง
• คำแนะนำการใช้งาน
• ข้อบังคับในสหราชอาณาจักร
• กฎหมายในยุโรป
• All you need to know about European truck tyre labelling