Inspection des pneus sur un camion

Background inspection of truck tyres Help and Advice

Inspection des pneus sur un camion

แรงดันลมยางที่เหมาะสมสำหรับยางรถบรรทุกและยางรถบัส

การเลือกและการรักษาแรงดันลมยางที่ถูกต้องเป็นกุญแจสำคัญสำหรับสมรรถนะสูงสุดของยาง

แรงดันลมสำหรับการเติมลมยาง

การเลือกและการรักษาแรงดันลมยางที่ถูกต้องเป็นกุญแจสำคัญสำหรับสมรรถนะสูงสุดของยาง

ยางเป็นเพียงจุดสัมผัสเดียวระหว่างรถกับพื้นผิวถนน

ซึ่งมีความสำคัญต่อความปลอดภัยทั้งของผู้ใช้และสินค้าที่ขนส่ง สำหรับการรับน้ำหนักและประเภทของงานที่กำหนด ในสภาวะที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน จะมีแรงดันลมยางที่เหมาะสมเพียงค่าเดียว

แรงดันลมภายในยางมีความสำคัญต่อการทำงานที่ถูกต้อง: แรงดันลมยางนี้เป็นทั้งตัวรองรับและขับเคลื่อนน้ำหนักบรรทุกและผู้โดยสาร:

  • ปลอดภัย
  • ทนทาน
  • ประหยัด
  • สะดวกสบาย

อย่างไรก็ตาม ในการสำรวจที่ดำเนินการโดยมิชลิน ผลปรากฏว่าแรงดันลมยางเป็นหนึ่งในจุดบำรุงรักษาที่มักจะไม่ได้รับการตรวจสอบและการบำรุงรักษาเท่าที่ควร

แรงดันลมยางและความปลอดภัย

แรงดันลมยางที่ไม่ถูกต้องส่งผลเสียต่อประสิทธิภาพด้านความปลอดภัยขั้นพื้นฐานบางประการ เช่น:

  • ความแข็งแรงของปลอกยาง
  • การทรงตัวและการควบคุมรถ
  • การยึดเกาะ
  • ความไวการตอบสนองเมื่อกระแทกขอบถนน

การเปลี่ยนแปลงของแรงดันลมยาง

ยางอาจสูญเสียแรงดันลมยางได้จากหลายสาเหตุ:

  • การปิดสนิทของขอบล้อ (เช่น รอยแตกหรือรอยเชื่อม)
  • รูที่ทะลุผ่านโครงสร้าง
  • การรั่วซึมตามธรรมชาติผ่านชิ้นส่วนประกอบต่างๆ

นอกเหนือจากระบบตรวจสอบที่ติดตั้งบนรถแล้ว การตรวจสอบแรงดันลมยางด้วยสายตาเป็นประจำโดยใช้เกจวัดแรงดันลมยางเป็นวิธีการทั่วไปในการตรวจหาปัญหาการรั่วไหลของลมยาง

the right pressure

เหตุผลในการตรวจสอบแรงดันลมยาง

■ ควรทำการตรวจสอบแรงดันลมของยางทุกเส้นที่ติดตั้งบนรถ: 

  • หากแรงดันลมยางต่ำเกินไป ส่งผลให้อุณหภูมิการทำงานเพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติซึ่งอาจทำให้ส่วนประกอบภายในเสียหายได้ ความเสียหายนี้ไม่สามารถย้อนกลับไปแก้ไขได้ และอาจทำให้ยางชำรุดเสียหายและยางแบนอย่างรวดเร็ว 
  • ผลที่เกิดจากการขับขี่ในขณะที่แรงดันลมภายในยางไม่เพียงพอไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นในทันที และอาจปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจนหลังจากที่แก้ไขแรงดันลมยางแล้ว  
  • ควรตรวจสอบยางอะไหล่ด้วย 
  • ต้องตรวจสอบแรงดันลมยางในยางที่มีอุณหภูมิเย็นเป็นประจำ หรือเมื่อรถเข้ารับบริการบำรุงรักษาโดยใช้มาตรวัดแรงดันลมยางที่ปรับเทียบแล้ว 
  • การเติมแรงดันลมยางที่ไม่เพียงพอยังเพิ่มความเสี่ยงของการลื่นไถลบนพื้นเปียกได้อย่างมาก 
  • การเติมลมยางมากเกินไปอาจทำให้เกิดการสึกหรออย่างรวดเร็วและไม่สม่ำเสมอ และเพิ่มความไวต่อการรับแรงกระแทก (ความเสียหายของดอกยาง และการเสื่อมสภาพของปลอกยาง)  
  • แม้ว่ายางจะเติมลมด้วยไนโตรเจน แต่ก็จำเป็นต้องตรวจสอบแรงดันเป็นประจำ 

image 2020 07 08 15 16 01 011

ข้อควรระวังที่สำคัญ

 

  • ต้องตรวจสอบแรงดันลมยางเมื่อยางเย็นที่อุณหภูมิแวดล้อม แรงดันลมยางจะเพิ่มขึ้นเมื่อใช้งาน: ห้ามลดแรงดันลมยางในขณะที่ยางยังร้อนอยู่
  • ห้ามเติมลมใหม่เข้าไปในยางที่ใช้งานในขณะที่มีลมยางต่ำเกินไปโดยไม่ทำการตรวจสอบอย่างละเอียดทั้งภายในและภายนอก
  • การเติมลมยางต่ำเกินไปอาจส่งผลให้ยางทำงานที่อุณหภูมิสูงผิดปกติ ส่งผลให้ส่วนประกอบของยางเสื่อมสภาพเนื่องจากความร้อน การเสื่อมสภาพที่เกิดขึ้นนั้นไม่สามารถย้อนกลับไปแก้ไขได้ และส่งผลให้ยางแบนอย่างรวดเร็ว
  • การเติมลมยางต่ำเกินไปส่งผลให้เกิดกรณีต่อไปนี้:
    • แรงต้านการหมุนเพิ่มขึ้น ดังนั้นจึงทำให้สิ้นเปลืองเชื้อเพลิง
    • อายุการใช้งานของยาง (ระยะทาง) ลดลง
    • ผลกระทบต่อการควบคุมยานพาหนะและความปลอดภัย
    • ความทนทานของปลอกยางลดลงซึ่งจะจำกัดศักยภาพของการหล่อดอกยาง
  • การเติมลมยางมากเกินไปจะลดคุณสมบัติต่อไปนี้:
    • ความปลอดภัยและความสบายในการขับขี่
    • การยึดเกาะ
    • อายุการใช้งานของยาง (ระยะทาง) โดยเฉพาะยางบนเพลาขับ
  • ไม่แนะนำให้ใช้แรงดันลมยางที่มากกว่า 10 บาร์ (145 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว) สำหรับการใช้งานบนทางหลวงปกติ
  • แรงดันลมยางบนยางที่เย็นซึ่งต่ำกว่าค่าที่แนะนำมากกว่า 0.6 บาร์ (8 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว) จะต้องได้รับการแก้ไขทันที
  • จะต้องปฏิบัติตามข้อบังคับที่มีผลบังคับใช้ในประเทศที่ใช้งานทุกกรณี
  • ใช้มาตรวัดแรงดันลมยางที่ถูกต้องและปรับเทียบเป็นประจำ และจัดการด้วยความระมัดระวัง
  • หากแรงดันลมภายในยางที่ตรวจสอบเมื่อยางร้อนนั้นต่ำกว่าแรงดันลมที่แนะนำ จะต้องถอดยางออกและตรวจสอบโดยปฏิบัติตามคำแนะนำด้านความปลอดภัย
  • หากมียางเส้นหนึ่งร้อนกว่ายางเส้นอื่นๆ มาก จะต้องถอดยางเส้นนั้นออกและตรวจสอบโดยปฏิบัติตามคำแนะนำด้านความปลอดภัย
  • โดยปกติแล้ว แรงดันลมยางบนเพลาเดียวกันควรจะเท่ากัน
  • ควรตรวจสอบแรงดันลมยางหลังจากติดตั้งยางแล้ว 24 ชั่วโมง
  • ยางสำหรับรถเชิงพาณิชย์ควรเติมลมให้มีแรงดันลมสัมพันธ์กับน้ำหนักบรรทุก ความเร็ว และสภาพการใช้งาน
  • แนวทางเกี่ยวกับแรงดันลมยางแสดงอยู่ในตารางการรับน้ำหนัก/แรงดันลมยาง
  • การใช้แรงดันลมยางที่ถูกต้องเป็นสิ่งสำคัญต่อการทำงานอย่างปลอดภัยของยาง
  • ฝาจุ๊บยางคือซีลปิดผนึกอากาศหลักและต้องติดตั้งเสมอ

(หมายเหตุ แกนจุ๊บยางทำหน้าที่เป็นวาล์วทางเดียวเพื่อให้สามารถสูบลมเข้ายางได้ ไม่ควรใช้แกนจุ๊บยางเป็นซีล)

ผลกระทบของแรงดันลมยางที่มีต่อสมรรถนะด้านระยะทาง

 

การเติมแรงดันลมยางต่ำกว่า 1.5 บาร์ (21.7 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว) = การสูญเสียประสิทธิภาพ 10%

influence

ผลกระทบของแรงดันลมยางที่มีต่อการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง

แรงดันลมยางมีผลกระทบต่อการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงที่ผ่านการพิสูจน์แล้ว แรงดันลมยางที่ไม่เหมาะสมจะเพิ่มแรงต้านทานการหมุนของยาง ดังนั้นจึงทำให้สิ้นเปลืองเชื้อเพลิงของรถ

การเติมแรงดันลมยางต่ำกว่า 1.5 บาร์ (21.7 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว) = การสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น 1%
การสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงจะเพิ่มขึ้นเมื่อเติมลมยาง 7.5 บาร์ (109 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว) ไม่ใช่ 9 บาร์ (130.5 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว) ตามที่แนะนำ ซึ่งก็คือ การเติมลมยางมากเกินไป 17%

fuel consumption

Tips box about tyre pressure check

Picto the right pressure page 75 Help and Advice

Tips box about tyre pressure check

คุณใช้เว็บบราวเซอร์ที่ไม่ใช่เวอร์ชั่นปัจจุบัน

เว็บบราวเซอร์ที่คุณใช้ไม่ได้รับการรองรับจากเว็บไซท์นี้ การใช้งานบางอย่างอาจไม่สมบูรณ์

กรุณาติดตั้งเว็บบราวเซอร์เหล่านี้เพื่อประโยชน์การใช้งานสูงสุด

Firefox 78+
Edge 18+
Chrome 72+
Safari 12+
Opera 71+