Zoom sur les roues d'un camion équipé en pneus Michelin

Background image operating advice Help and Advice

Zoom sur les roues d'un camion équipé en pneus Michelin

คำแนะนำการใช้งาน

ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการใส่ยางรถบรรทุกและรถบัส

คุณต้องพิจารณาความสอดคล้องและความเข้ากันได้ของยางกับล้อและรถยนต์ก่อนที่จะเริ่มกระบวนการติดตั้งยาง
การติดตั้งยางที่ถูกต้องด้วยวิธีดำเนินการที่แนะนำและสอดคล้องกับกฎความปลอดภัยที่บังคับใช้ ช่วยให้มั่นใจได้ว่าคุณจะสามารถใช้งานยางได้อย่างเต็มสมรรถนะ


ก. ข้อควรระวังทั่วไป

  • ผู้ปฏิบัติงานต้องสวมใส่ชุดป้องกันตามปกติของตนเองเสมอ (อุปกรณ์ป้องกันหู ถุงมือ รองเท้านิรภัย ฯลฯ)
  • ผู้ปฏิบัติงานต้องผ่านการฝึกอบรมอย่างถูกต้องสำหรับงานที่ตนเองกำลังดำเนินการและใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสม
  • รถต้องดับเครื่องยนต์และจอดนิ่งอยู่กับที่ และจะต้องทรงตัวอย่างมั่นคง (เบรกมือ โช๊ค ขาตั้งรับเพลา ฯลฯ)

ข. ข้อควรระวังในการติดตั้ง

ตรวจสอบให้แน่ใจว่าล้อและส่วนประกอบของล้อมีความเหมาะสม สะอาด และอยู่ในสภาพดี

  • ตรวจสอบความเข้ากันได้ของยางกับล้อ ยางกับรถยนต์ และยางกับลักษณะการใช้งาน
  • ติดตั้งให้ถูกต้องตามตำแหน่ง ทิศทางการติดตั้ง ทิศทางการหมุน และคำแนะนำที่เกี่ยวข้องใด ๆ ก็ตามที่ระบุไว้บนแก้มยาง
  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าด้านในของยางนั้นสะอาด แห้ง และปราศจากสิ่งแปลกปลอม สำหรับยางที่ผ่านการใช้งานบนท้องถนนแล้ว คุณต้องตรวจสอบอย่างระมัดระวังว่าด้านในของยางนั้นไม่มีสัญญาณใดๆ ที่แสดงถึงการขับขี่โดยใช้แรงดันลมยางต่ำกว่ามาตรฐาน (มีรอยเป็นหย่อมๆ, มีรอยแยก)
  • เปลี่ยนซีลจุ๊บยางสำหรับล้อรถแบบไม่มียางใน หรือเปลี่ยนยางในและยางรองสำหรับล้อรถแบบมียางใน
  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่ายางอยู่ในตำแหน่งตรงกลางบนขอบล้อระหว่างการเติมลม
  • เติมลมยางอย่างปลอดภัยตามแรงดันลมสำหรับการใช้งานที่ผู้ผลิตแนะนำ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าส่วนประกอบทั้งหมดเข้าที่อย่างถูกต้อง ห้ามยืนหันหน้าเข้าหายางที่ติดตั้ง ยืนในแนวเดียวกับดอกยาง โดยเว้นระยะห่างอย่างน้อย 3 เมตร ใช่กรงเติมลมยางทุกครั้งที่สามารถทำได้
  • ต้องปฏิบัติตามข้อควรระวังเหล่านี้ทุกข้อกับทั้งยางใหม่และยางที่ผ่านการใช้งานบนท้องถนนมาแล้ว
  • เราขอแนะนำให้ติดตั้งยางบนล้อที่มีจุ๊บยางนิรภัยสำหรับรถยนต์ที่ติดตั้งดิสก์เบรก เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จุ๊บยางจะชำรุดเสียหายเนื่องจากวัตถุที่ติดระหว่างเบรกและล้อ
  • การใส่ยางและล้อที่ไม่ถูกต้องอาจทำให้ยางและรถยนต์ชำรุดเสียหาย และทำให้บุคคลได้รับบาดเจ็บ (บาดเจ็บสาหัสหรือถึงแก่ชีวิต)


ค. การตรวจสอบจุ๊บยาง

เนื่องจากการเสื่อมสภาพและอุณหภูมิสูงในส่วนที่เชื่อมโยงกับเบรก จะต้องเปลี่ยนซีลจุ๊บยางและอุปกรณ์ต่อพ่วงสำหรับการเติมลมยางทุกครั้งที่เปลี่ยนยาง
ฝาจุ๊บยางในสภาพที่ดีเยี่ยมเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการบำรุงรักษาซีลผนึกอากาศ

Picto maintenance page 27 Help and Advice

แผนภาพการปิดผนึกสำหรับการติดตั้งแบบคู่ สำหรับการติดตั้งประเภทนี้ ให้จัดตำแหน่งของจุ๊บยางโดยหันเข้าหากันเสมอ


แนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดสำหรับการเติมลมยาง

ความดันลมยางในเวิร์คชอป

จะต้องดำเนินการโดยบุคลากรที่มีความสามารถโดยใช้อุปกรณ์ที่ถูกต้อง การติดตั้งที่ไม่ถูกต้องอาจส่งผลให้เกิดการชำรุดเสียหายกับยาง (อาจมองไม่เห็นในขณะที่ติดตั้ง) ยางใน และล้อ

ต้องกำหนดแรงดันลมยางเย็นตามน้ำหนักบรรทุก ความเร็ว และสภาพการใช้งาน

มิชลินขอแนะนำให้เติมลมยางโดยใช้กรงนิรภัยสำหรับการเติมลม

คุณควรเติมลมยางสองขั้นตอน:

ขั้นตอนที่ 1:
• เติมลมขั้นแรก 1.5 บาร์ (21.7 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว)
• การตรวจสอบยางทั่วไป

ขั้นตอนที่ 2:
• เติมลมยางตามแรงดันที่กำหนด
• ระหว่างการเติมลมยาง ต้องวางยางแนวตั้งในกรงสำหรับการเติมลมยาง หรือในพื้นที่ที่ปลอดภัยและเหมาะสม

ระหว่างการเติมลม ผู้ปฏิบัติงานต้องอยู่ในตำแหน่งที่เป็นแนวเดียวกับแถบดอกยาง

ตลอดระยะเวลาที่เติมลมยาง ให้ยืนห่างจากส่วนประกอบที่ติดตั้งอย่างน้อย 3 เมตรในแนวเดียวกับแถบดอกยาง

Edito la juste pression photo principale Help and Advice

Stand in line with the tread band and at least 3 metres away during inflation.

การปรับสมดุล

การตรวจสอบให้แน่ใจว่ายางนั้นมีความสมดุลที่ถูกต้องเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อประโยชน์ดังต่อไปนี้:

• ช่วยให้ยางมีสมรรถนะด้านระยะทางในการขับขี่สูงสุด
• ป้องกันไม่ให้ชิ้นส่วนกลไกสึกหรอก่อนเวลาอันควร
• ทำให้การขับขี่สะดวกสบาย

หากจำเป็นต้องทำการปรับสมดุล มิชลินขอแนะนำให้เลือกการปรับสมดุลแบบไดนามิกโดยการถ่วงตุ้มน้ำหนักที่ล้อ

การติดตั้งล้อเข้ากับรถยนต์

หลังจากติดตั้งล้อเข้ากับรถแล้ว จะต้องขันน็อตล้อให้แน่นด้วยอุปกรณ์แรงบิดที่ปรับเทียบแล้วตามการตั้งค่าแรงบิดที่กำหนดโดยผู้ผลิตรถยนต์ กระบวนการขันล้อให้แน่นเป็นสิ่งสำคัญในการรักษาความปลอดภัยของล้อ ควบคู่ไปกับความปลอดภัยของคุณเองด้วย

ก. สภาพล้อ:

  • ต้องตรวจสอบสภาพล้อเป็นประจำ ต้องเปลี่ยนล้อหรือขอบล้อที่แตก
  • ห้ามซ่อมแซมล้อและขอบล้อด้วยการเชื่อม
  • หากจำเป็นต้องทำการเชื่อม ต้องถอดยางออกจากขอบล้อก่อน หากไม่ดำเนินการนี้ มีความเสี่ยงอย่างมากที่จะเกิดการระเบิด
  • สามารถใส่ยางกลับเข้าที่ได้เมื่อส่วนประกอบทั้งหมดกลับสู่อุณหภูมิแวดล้อมแล้ว
  • ก่อนทำการเชื่อมใดๆ กับแชสซีรถ ควรถอดส่วนประกอบยางและล้อออกจากตัวรถ
  • ก่อนที่จะถอดส่วนประกอบล้อออกจากตัวรถ ขอแนะนำให้ปล่อยลมยางออกก่อน


ข. ก่อนการติดตั้ง/การประกอบล้อ ต้องสังเกตสิ่งต่อไปนี้:

1. ทำความสะอาด:

  • พื้นผิวรองรับของดุมล้อและล้อ
  • สลักเกลียวและนอตล้อ

2. ตรวจสอบ:

  • สภาพของรูยึด (รูปทรงผิดปกติ รอยแตก ฯลฯ)
  • สภาพของสลักเกลียว (รูปทรงผิดปกติ สภาพของเกลียว ฯลฯ)
  • สภาพของนอต (รูปทรงผิดปกติ สภาพของเกลียว ฯลฯ)
  • หากมีการกัดกร่อนและสีใด ๆ ให้กำจัดออกด้วยแปรงลวด หากจำเป็น
  • พื้นผิวโลหะที่มีเสี้ยน หลวม หรือเป็นสะเก็ด

3. หล่อลื่น:

  • หล่อลื่นเกลียวนอตล้อด้วยน้ำมันหนึ่งหยด
  • ห้ามหล่อลื่นหน้าประกบของนอตหรือแหวนรอง

4. แรงบิดในการขันขั้นสุดท้าย:

  • ใช้อุปกรณ์แรงบิดที่ปรับเทียบแล้ว
  • ปฏิบัติตามวิธีการและแรงบิดในการขันที่ผู้ผลิตรถยนต์แนะนำ
  • ควรขันนอตสลับกันในแนวทแยงมุมตามจำนวนนอตที่แสดงในภาพประกอบด้านล่าง ลำดับการหมุนที่ตรงกันข้ามในแนวทแยงมุมช่วยให้มั่นใจว่าหน้าประกบถูกดึงเข้าหากันโดยตรงและสม่ำเสมอกัน
  • การขันให้แน่นด้วยแรงบิดที่ถูกต้องโดยใช้อุปกรณ์แรงบิดที่ปรับเทียบแล้ว ทำให้ถอดล้อได้ง่ายขึ้นในกรณีที่ยางรั่ว ไม่ทำให้สลักเกลียวบิดผิดรูปและช่วยให้มั่นใจถึงการทำงานที่ปลอดภัย

บ่อยครั้งที่การขันแน่นเกินไปนั้นก่อให้เกิดอันตรายพอๆ กับการขันไม่แน่นพอ และอาจส่งผลดังต่อไปนี้:

  • รูปทรงที่ผิดปกติและ/หรือการแตกร้าวของสลักเกลียวล้อ
  • รูปทรงที่ผิดปกติของเกลียวนอตล้อซึ่งอาจทำให้ล้อหลวมได้
  • การบิดเบี้ยวของดุมล้อ ฯลฯ

หลังจากผ่านไปสามสิบนาที หรือหลังจากการใช้งาน 50 – 100 กิโลเมตร ควรตรวจสอบความแน่นของนอตล้ออีกครั้งโดยใช้อุปกรณ์แรงบิดที่ปรับเทียบแล้ว เมื่อทำการปรับแรงบิดใหม่แล้ว ไม่ควรคลายนอตออกแล้วขันกลับเข้าไปให้แน่น ควรดำเนินการเพียงแค่ตรวจสอบเท่านั้น

Picto Schema maintenance clamp Help and Advice

การดูแลและการบำรุงรักษา

ต้องตรวจสอบยางเป็นประจำ ตรวจสอบให้แน่ใจว่ารถจอดนิ่งอยู่กับที่และดับเครื่องยนต์แล้ว และรถไม่สามารถเคลื่อนที่ได้จริงๆ ก่อนที่จะทำการตรวจสอบ


ก. การดูแลยาง

ต้องตรวจสอบยางเป็นประจำ เมื่อดำเนินการนี้ ตรวจสอบให้แน่ใจว่ารถจอดนิ่งอยู่กับที่และดับเครื่องยนต์แล้ว และรถไม่สามารถเคลื่อนที่ได้จริงๆ ก่อนที่จะทำการตรวจสอบ

ข. การดูแลยาง

  • ต้องตรวจสอบยางที่ติดตั้งบนรถยนต์เป็นประจำ หมั่นตรวจสอบดูแลเป็นพิเศษ:
    • ดอกยาง ตรวจหาร่องรอยการสึกหรอที่ผิดปกติ รอยตัด รูปทรงที่ผิดปกติและวัตถุแปลกปลอมที่ฝังอยู่ (หิน สลักเกลียว ตะปู ฯลฯ)
    • แก้มยาง ตรวจหารอยตัด ความเสียหายจากการกระแทก (เกิดจากการตกหลุมบนพื้นถนน การขับปีนขอบถนน ฯลฯ) การครูดกับขอบถนน และการผิดรูปที่เกิดขึ้นในลักษณะที่ผิดปกติ
  • สาเหตุของปัญหาการควบคุมรถ เช่น การสั่นสะเทือนของพวงมาลัย รถวิ่งกินซ้ายหรือขวา ฯลฯ นอกจากนี้ควรตรวจสอบรายการต่อไปนี้ด้วย
  • หากเกิดการสูญเสียแรงดันลมยาง จำเป็นต้องจอดรถโดยเร็วที่สุด เนื่องจากการวิ่งในขณะที่ลมยางอ่อนเกินไปจะทำให้ส่วนประกอบของยางเสื่อมสภาพเนื่องจากความร้อน
  • ควรถอดยางออกจากขอบล้อและระบุสาเหตุของการสูญเสียแรงดันลมยาง
  • ความเสียหายใดๆ จะต้องตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญด้านยางรถยนต์ ซึ่งสามารถระบุได้ว่าจำเป็นต้องซ่อมแซมหรือสามารถทำการซ่อมแซมได้หรือไม่
  • การซ่อมแซมจะต้องดำเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญด้านยาง ซึ่งจะรับผิดชอบในการซ่อมแซม
  • ก่อนการซ่อมแซมใดๆ จะต้องตรวจสอบภายในของยาง เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีการเสื่อมสภาพเกิดขึ้น

ข. การตรวจสอบยางและคำแนะนำ

Picto truck axles Help and Advice

เพลาจากซ้ายไปขวา: บังคับเลี้ยว (F), ขับ(D), เทรลเลอร์ (T)

1. การสึกหรอของยางบนเพลาบังคับเลี้ยวของรถยนต์

ข้อสังเกต

  • โดยปกติแล้ว ยางบริเวณใกล้ขอบด้านหน้าจะสึกหรอเร็วกว่ายางบริเวณที่ห่างจากขอบด้านหน้าสำหรับรถบรรทุกที่ขับเลนซ้าย
  • ยางบริเวณใกล้ขอบด้านหน้ามักจะเกิดการสึกหรอเด่นชัดกว่าบริเวณไหล่ยางที่ติดตั้งอยู่ด้านนอก เนื่องจากมุมโค้งของถนนและจำนวนครั้งในการตีโค้ง

วิธีแก้ไขของเรา:

เพื่อให้ยางด้านหน้าสึกเท่ากัน หากจำเป็นให้สลับด้านยางบนขอบล้อเมื่อยางสึกไปครึ่งหนึ่ง และสลับด้านซ้ายไปไว้ด้านขวา เซาะร่องยางในเวลาที่เหมาะสม มิชลินไม่แนะนำให้ใส่ยางหล่อดอกบนเพลาบังคับเลี้ยวด้านหน้าของรถยนต์


2. การสึกหรอของยางบนเพลาขับ

ข้อสังเกต

  • ตามกฎทั่วไป ยางด้านในทั้งสองข้างจะมีการสึกหรอที่เด่นชัดกว่าบนไหล่ดอกยางที่ด้านในของแชสซี
  • มีหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้อง: มุมแคมเบอร์ ประเภทของช่วงล่าง การใช้เบรกเครื่องยนต์ สภาพเส้นทาง และการรับน้ำหนักของเพลา

วิธีแก้ไขของเรา:

เพื่อให้ยางสึกเท่ากันและใช้ประโยชน์จากยางทั้งสี่เส้นได้อย่างเต็มที่โดยการเซาะร่องยางแบบรวม ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้:

  • สลับยางด้านในและด้านนอก (การติดตั้งคู่)
  • สลับด้านยางด้านในทั้งสองข้างบนขอบล้อในขณะที่สังเกตทิศทางการหมุนไปพร้อมๆ กันด้วย
  • เซาะร่องยางโดยเหลือดอกยางไว้ 3 ถึง 4 มม.

ใส่ยางหล่อดอกบนเพลาขับที่ตำแหน่งล้อหลัง

3. การสึกหรอของยางบนเพลาบรรทุกน้ำหนัก (ในกรณีของรถบรรทุกพ่วงที่มีเพลาแบบติดตั้งตายตัว 3 อัน)

ข้อสังเกต

เนื่องจากการเสียดสีด้านข้างในขณะที่เข้าโค้งและหลบหลีก อัตราการสึกหรอของยางที่ติดตั้งบนเพลาทั้ง 3 อันจึงไม่เท่ากัน:

  • เพลาอันที่ 1 ได้รับผลกระทบจากการเสียดสีปานกลาง ดังนั้นจึงมีการสึกหรอที่ระดับกลางระหว่างเพลาอันที่ 2 และเพลาอันที่ 3
  • เพลาอันที่ 2 แทบจะไม่มีความเครียดเลย จึงมีระดับการสึกหรอต่ำมาก
  • เพลาอันที่ 3 มีการสึกหรอเร็วกว่าเพลาอื่น เนื่องจากได้รับผลกระทบมากที่สุดจากการเสียดสีที่มีสาเหตุมาจากรูปทรงของรถ

วิธีแก้ไขของเรา:

เพื่อให้ยางสึกเท่ากันและใช้ประโยชน์จากยางทั้งสองเส้นได้อย่างเต็มที่โดยการเซาะร่องยางแบบรวม ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้:

การสลับยาง:

  • สลับด้านยางบนขอบล้อของเพลาอันที่ 1 และอันที่ 3 เมื่อมีการสึกหรอ 50%
  • เซาะร่องยาง (ความลึกของลายดอกยางเหลืออยู่ 3 - 4 มม.):
  • สามารถใช้ยางที่เซาะร่องใหม่บนเพลาอันที่ 1 ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการใช้งาน
  • โดยปกติแล้วเราแนะนำให้ใช้ยางที่เซาะร่องใหม่บนเพลาอันที่ 2
  • โดยปกติแล้วเราไม่แนะนำให้ใช้ยางที่เซาะร่องใหม่บนเพลาอันที่ 3

สามารถเซาะร่องยางบนเพลาอันที่ 3 ใหม่และนำมาติดตั้งบนเพลาอันที่ 2 ได้

สำหรับรถเทรลเลอร์และรถบรรทุกพ่วง ยาง MICHELIN Remix สามารถติดตั้งบนเพลาตำแหน่งใดก็ได้

ค. การสลับยางและการสลับด้านยางบนขอบล้อ

คืออะไร

การสลับยางเป็นการดำเนินการที่ประกอบด้วยการถอดยางออกจากตำแหน่งหนึ่งบนรถและนำกลับไปใส่ในตำแหน่งอื่น
การสลับด้านยางบนขอบล้อเป็นการดำเนินการที่ประกอบด้วยการถอดยางออกจากขอบล้อและใส่กลับเข้าไปใหม่โดยสลับด้านกัน
การดำเนินการทั้งสองแบบสามารถเพิ่มอายุการใช้งานของยางที่ยาวนานขึ้นได้ประมาณ 20%*

ตัวอย่าง: การสึกหรอบนยางที่เพลาขับ
ยางรถบรรทุกบางรุ่นมีทิศทางการหมุน ซึ่งต้องปฏิบัติตามตั้งแต่เริ่มต้นใช้งานยาง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของยางทุกรอบ ในกรณีนี้ เมื่อสลับยาง อาจจำเป็นต้องสลับด้านยางบนขอบล้อด้วยเพื่อรักษาทิศทางการหมุนตามที่แนะนำ

Edito maintenance page 34 Help and Advice

ง. ยาง ANTISPLASH™


ระบบ Antisplash™ ได้รับการออกแบบให้มีประสิทธิภาพสำหรับการใช้งานนอกตัวรถ
มีการระบุคำว่า "ด้านนอก" ในหลายภาษาบนแก้มยาง 385/65 R 22.5 ที่มีระบบ Antisplash™

– ยาง 385/65 R 22.5 และ 315/70 R 22.5

ด้วยเหตุผลเรื่องความต้องการด้านพื้นที่ 385/65 R 22.5 Antisplash™ และ 315/70 R 22.5

สำหรับยาง Antisplash™ ไม่จำเป็นต้องสลับด้านยางบนขอบล้อ

– ยาง 385/55 R 22.5

ไม่สามารถสลับด้านยางเหล่านี้บนขอบล้อของยางแต่ละเส้นได้ หากจำเป็น สิ่งสำคัญคือการตรวจสอบว่ายาง Antisplash™ นั้นไม่สัมผัสกับชิ้นส่วนกลไกใดๆ ในขั้นตอนนี้ ต้องตรวจสอบระยะห่างกับล้อในตำแหน่งบังคับเลี้ยวทุกจุด (ตั้งแต่ตัวล็อคฝั่งซ้ายสุดไปจนถึงตัวล็อคฝั่งขวาสุด) โดยคำนึงถึงความแตกต่างของรูปทรงเมื่อใช้งานรถหลากหลายรูปแบบ ขอแนะนำให้ติดต่อผู้ผลิตรถยนต์เพื่อขอความคิดเห็น

จ. การตั้งศูนย์ล้อ

ด้วยการวัดและปรับมุมล้อที่ติดตั้งบนรถ ต้นทุนเชื้อเพลิงและการสึกหรอของยางจะลดลง

ซึ่งนำไปสู่การประหยัดและสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้นสำหรับทุกคน นอกจากนี้ยังหมายถึงความปลอดภัยที่ดีขึ้นโดยการใช้พื้นที่เสียเปล่าน้อยลง ด้วยรถที่ขับขี่บนทางหลวงที่มีการตั้งศูนย์ล้ออย่างถูกต้อง

ข้อควรระวังเกี่ยวกับการถอดยาง

เมื่อถอดล้อออกจากตัวรถ

หากยางเป็นส่วนหนึ่งของการติดตั้งคู่หรือหากบริเวณขอบล้อมีความเสียหายที่เห็นได้อย่างชัดเจน ต้องดำเนินการดังต่อไปนี้:

  • ต้องปล่อยลมยางโดยการถอดแกนจุ๊บยางออก ก่อนที่จะถอดอุปกรณ์ที่ติดตั้งอยู่ออกจากตัวรถ
  • ปฏิบัติตามคำแนะนำและข้อเสนอแนะของผู้ผลิตรถยนต์

การถอดยางในขณะที่ล้อยังติดตั้งอยู่กับตัวรถ

มิชลินไม่แนะนำให้ดำเนินการในลักษณะนี้ วิธีนี้สามารถใช้ได้ในกรณีที่ไม่สามารถถอดล้อออกจากรถได้เท่านั้น ในกรณีนี้ ให้ปล่อยลมยางออกจนหมดโดยการถอดแกนจุ๊บยางออก

การจัดเก็บและการขนย้าย

ก. สภาพแวดล้อมในการจัดเก็บยางที่ดี

  • สถานที่สะอาด แห้ง มีอุณหภูมิปานกลางและอากาศถ่ายเทสะดวก มีที่กำบังให้พ้นจากแสงแดดที่ส่องลงมาโดยตรงและสภาพอากาศที่เลวร้าย
  • ห้องจัดเก็บไม่ควรมีอุปกรณ์ใดๆ ที่ก่อให้เกิดโอโซน เช่น หลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ หลอดไฟไอปรอท เครื่องจักรไฟฟ้า หรืออุปกรณ์อื่นๆ ที่อาจก่อให้เกิดประกายไฟหรือการปล่อยประจุไฟฟ้าอื่นๆ
  • จัดเก็บให้ห่างจากสารเคมี ตัวทำละลาย หรือไฮโดรคาร์บอนใดๆ ที่อาจเปลี่ยนแปลงลักษณะของยางได้
  • จัดเก็บให้ห่างจากวัตถุใดๆ ที่อาจเจาะยางได้ (โลหะปลายแหลมม ไม้ ฯลฯ)
  • ควรจัดเก็บผลิตภัณฑ์ในสภาพที่ผ่อนคลายโดยปราศจากแรงตึง แรงกด หรือการผิดรูปอื่นๆ เนื่องจากอาจทำให้เกิดการแตกหรือรูปทรงผิดปกติเป็นการถาวร
  • การหมุนเวียนสต็อก: ต้องลดระยะเวลาในการจัดเก็บเพื่อหลีกเลี่ยงการเสื่อมสภาพ ควรหมุนเวียนสต็อกออกจากร้าน เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ที่เหลืออยู่ในพื้นที่จัดเก็บเป็นรายการที่ผลิตหรือจัดส่งล่าสุด

• การจัดเก็บ:

– สำหรับการจัดเก็บระยะสั้น (สูงสุด 4 สัปดาห์) สามารถวางยางในแนวนอนโดยวางซ้อนกันบนพาเลทไม้ได้ แต่ความสูงของการวางซ้อนไม่ควรเกิน 1.2 เมตร หลังจาก 4 สัปดาห์ ควรจัดวางยางใหม่โดยเปลี่ยนลำดับการวางซ้อนกันของยาง เมื่อยางติดตั้งบนขอบล้อแล้ว ควรจัดเก็บยางในลักษณะที่เติมลมแล้วในแนวตั้งหรือแบบชั้นเดียวบนชั้นวาง

– สำหรับการจัดเก็บในระยะยาว ควรจัดเก็บยางในแนวตั้งแบบชั้นเดียวบนชั้นวางโดยเว้นระยะห่างเหนือพื้นอย่างน้อย 10 ซม. ขอแนะนำให้หมุนยางเดือนละครั้งเพื่อป้องกันไม่ให้ยางผิดรูป

• ยางใน:

– ยางในของยางควรเติมลมเล็กน้อย ปัดด้วยแป้งฝุ่น และใส่ไว้ในยาง หรือจัดเก็บในสภาพที่ปล่อยลมออกโดยวางซ้อนเป็นกองขนาดเล็ก 50 ซม. – ในช่องของชั้นวางที่มีฐานด้านล่าง พาเลทไม้ระแนงไม่เหมาะสำหรับการใช้งานเนื่องจากอาจเกิดแรงกดที่จุดใดจุดหนึ่ง

– หากผู้ผลิตบรรจุยางในไว้ในกล่องผลิตภัณฑ์หรือห่อด้วยฟิล์ม ควรเก็บยางในเหล่านั้นไว้ตามเดิม เพราะบรรจุภัณฑ์ที่ผู้ผลิตจัดให้มีการป้องกันสิ่งปนเปื้อน ออกซิเจน และผลกระทบจากแสงอยู่แล้วในระดับหนึ่ง

• ยางรอง:

– ควรจัดเก็บยางรองกับยางในไว้ด้านในยาง แต่หากจัดเก็บแยกกัน ควรวางราบบนชั้นวางที่ปราศจากสิ่งปนเปื้อน ฝุ่น น้ำมันหรือจาระบี และความชื้น ห้ามแขวน – เนื่องจากการแขวนอาจทำให้เกิดการผิดรูปและการยืดตัว


ข. เมื่อขนย้ายยางและอุปกรณ์เสริมต่างๆ ผู้ปฏิบัติงานต้อง:

• ปฏิบัติตามคำแนะนำด้านความปลอดภัยของบริษัท

• ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันตามปกติสำหรับการขนย้าย

• ใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ที่จะไม่ทำให้ยางชำรุดเสียหาย


ค. ข้อมูลการจัดเก็บเพิ่มเติมของมิชลิน:

  • ยางที่เก็บไว้ซึ่งมีอายุครบห้าปีแล้วควรได้รับการตรวจสอบโดยบุคลากรที่มีความสามารถเพื่อพิจารณาความเหมาะสมสำหรับการบำรุงรักษาเพิ่มเติม
  • ขอแนะนำอย่างยิ่งให้จัดเก็บยางที่ติดตั้งกับขอบล้อแล้วโดยการเติมลมยางด้วยไนโตรเจน หากเติมยางด้วยลม ลมจะต้องแห้งที่สุดก่อนที่จะเติมเข้าสู่ยาง ตรวจสอบให้แน่ใจว่าฝาจุ๊บยางติดตั้งอยู่กับจุ๊บยาง
  • ควรเติมลมยางที่ติดตั้งบนรถยนต์ที่จอดอยู่บนพื้นตามแรงดันลมปกติของรถยนต์
  • ควรตรวจสอบแรงดันลมยางทุกๆ หกเดือนและแก้ไขตามความจำเป็น ควรหมุนยาง ¼ รอบทุกๆ สี่เดือน ควรขับขี่รถเพื่อใช้งานยางทุกๆ ปี จนกว่า “หน้าสัมผัสที่มีการกดทับของยาง” นั้นจะหายไป
  • ควรปล่อยลมยางที่ติดตั้งบนรถที่แขวนลอยจากพื้นให้เหลือประมาณครึ่งหนึ่งของแรงดันลมยางปกติของรถยนต์
  • ควรปล่อยลมยางอะไหล่ในที่จัดเก็บให้เหลือประมาณครึ่งหนึ่งของแรงดันลมยางปกติของรถยนต์
  • ต้องมีการกำหนดขั้นตอนเพื่อให้แน่ใจว่าจะมีการเติมลมยางที่จัดเก็บไว้ในที่จัดเก็บโดยการลดแรงดันลมยางให้ต่ำลงอย่างถูกต้อง เมื่อนำยางกลับมาใช้งาน
  • ควรตรวจสอบยางใดๆ ที่เก็บไว้ด้วยสายตาโดยเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญก่อนที่จะนำมาใช้งานหรือนำกลับมาใช้งานใหม่

คุณใช้เว็บบราวเซอร์ที่ไม่ใช่เวอร์ชั่นปัจจุบัน

เว็บบราวเซอร์ที่คุณใช้ไม่ได้รับการรองรับจากเว็บไซท์นี้ การใช้งานบางอย่างอาจไม่สมบูรณ์

กรุณาติดตั้งเว็บบราวเซอร์เหล่านี้เพื่อประโยชน์การใช้งานสูงสุด

Firefox 78+
Edge 18+
Chrome 72+
Safari 12+
Opera 71+